โรคเก๊าท์ กับ โรคเก๊าท์เทียม ต่างกันอย่างไร

โรคเก๊าท์ และเก๊าท์เทียม เป็นชนิดหนึ่งของโรคข้ออักเสบ ที่สร้างอาการปวด บวม ร้อนแดง ที่บริเวณข้อของร่างกาย อาการของ 2 โรคนี้มีความคล้ายคลึงกันมากจนแยกแทบไม่ออก แต่ที่จริงแล้วมีสาเหตุของโรคที่ต่างกันดังนี้ ความแตกต่างของ 2 โรคนี้ โรคเก๊าท์เกิดจากร่างกายมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ (สูงกว่า 7 มก./ดล.) ทำให้เกิดการตกผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรต [monosodium urate (MSU)] ในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวด บวมเฉียบพลันบริเวณ ข้อโคนนิ้ว หัวแม่เท้า ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้าและข้อนิ้วเท้า เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยให้อาการถึงระดับเรื้อรังอาจมีภาวะไตวายร่วมด้วยได้ พบว่าคนที่เป็นโรคนี้จะมีระดับกรดยูริกสูงสะสมโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 20 ปี พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า โดยในเพศชายจะพบในช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี และในเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นมากขึ้นในวัยหลังหมดประจำเดือน ส่วนโรคเก๊าท์เทียม เกิดจากการคั่งและสะสมของผลึกเกลือชนิดที่เรียกว่า แคลเซียมไพโรฟอสเฟตดีไฮเดรท [calcium pyrophosphate dehydrate (CPPD) ]เป็นโรคข้อที่เกิดจากการตกผลึกเกลือที่กระดูกอ่อนมีอาการคล้ายโรคเก๊าท์แท้ มักจะมีอาการปวดบวมบริเวณข้อใหญ่ ๆ ของร่างกายและมักจะสะสมบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ […]